Balcony Composter
A. คอมโพสเตอร์คืออะไร?
"ปุ๋ยหมักอินทรีย์" สามารถทำได้โดยการย่อยสลายและหมักอินทรีย์วัตถุ เช่น เศษใบไม้ และของเสียในครัวจากครัวเรือนด้วยการย่อยสลายของจุลินทรีย์และเชื้อรา เรียกว่าปุ๋ยหมัก ซึ่งสามารถผลิตปุ๋ยหมักได้จาก ถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์ (คอมโพสเตอร์)
ประโยชน์ของปุ๋ยหมักอินทรีย์
★ลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
มากกว่าครึ่งหนึ่งของเศษอาหารจากครัวเรือนเป็นน้ำ ซึ่งต้องใช้พลังงานและปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนมากเพื่อดำเนินการกำจัดขยะเศษอาหารจากครัวเรือน ขยะที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครมีปริมาณ 8,900 ตัน / วัน ซึ่งมากกว่า 50% เป็นเศษอาหารจากครัวเรือน ซึ่งกระบวนการในการกำจัดเศษอาหารจากครัวเรือนดังกลาวจะก่อให้เกิดการปล่ยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 9 ล้านตัน / วัน โดยข้อมูลรายละเอียดที่ชัดเจนในการแปรสภาพและหมุนเวียนนำขยะกลับมาใช้ได้ใหม่นั้นมีน้อยมาก
เราสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้โดยการใช้ถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์เพื่อกำจัดเศษอาหารจากครัวเรือน
ถ้าคุณใช้ถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์ เราจะสามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 73 กก. ต่อปี ถึง 150 กก.ต่อปี
แต่ถ้าคุณมีเพื่อน 20 คนใช้ถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์ เราจะสามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 3 ตันต่อปี
และถ้าเพื่อนของคุณในคอนโดมิเนียมร่วมกันใช้ถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์ เราจะสามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึงประมาณ 97.5 ตันต่อปี
★ช่วยลดขยะอื่นๆ นอกจากเศษอาหารจากครัวเรือน
ช่วยลดปริมาณการใช้ถุงขยะพลาสติกและลดความถี่ในการทิ้งขยะ
★เพลิดเพลินกับการปลูกผักสดไว้ทานเองที่บ้าน
คุณสามารถเพลิดเพลินกับการทำปุ๋ยหมักด้วยถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์ และมีความสุขการปลูกผักจากเมล็ดพันธุ์ผักที่มาพร้อมกับชุดถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์
B. วิธีใช้ถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์
ขั้นตอนที่ 1. ใส่กระเป๋าด้านในไว้ในกระเป๋าด้านนอก
★คำแนะนำ
・ชุดถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์ประกอบด้วยถุงใบใหญ่มีฝาปิด และถุงใบเล็ก ควรนำถุงใบเล็กใส่ซ้อนด้านในของถุงใบใหญ่
ขั้นตอนที่ 2. ใส่วัสดุช่วยย่อย ① ลงในถุง
★คำแนะนำ
・ แนะนำให้วางถุงไว้ในจุดที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกภายในห้อง หรือบริเวณระเบียง ถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์สามารถโดนฝนได้เล็กน้อย
ในกรณีที่วางถุงไว้ด้านในบ้าน บางครั้งอาจส่งกลิ่นได้หากมีเศษอาหารจากเนื้อสัตว์เป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถย้ายตำแหน่งการวางถุงไว้บริเวณระเบียง หรือด้านนอกอาคารได้
ในกรณีที่วางถุงไว้บริเวณระเบียง ถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์อาจได้รับแสงแดดมากเกินไป อาจทำให้วัสดุช่วยย่อยแห้งเกินไปเนื่องจากปริมาณความชื้นในวัสดุที่ลดลงจากการระเหยของน้ำในวัสดุช่วยย่อย ในกรณีนี้ แนะนำให้เติมน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณความชื้นในวัสดุช่วยย่อย
ขั้นตอนที่ 3. พรวนวัสดุช่วยย่อย ① ผัดในขณะที่ฉีดลมและเตรียมหลุมเพื่อหมักเศษอาหารบริเวณด้านซ้ายหรือด้านขวาของถุงปุ๋ยหมัก
★คำแนะนำ
หากมีน้ำมากในการหมักปุ๋ยอินทรีย์อาจเกิดการเน่าเหม็นและเป็นที่มาของแมลงได้ ดังนั้นควรให้ถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์แห้งโดยการผึ่งแดดเพื่อปรับลดปริมาณน้ำ สิ่งนี้สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยแยกน้ำออกจากเศษอาหารจากครัวเรือนก่อนฝังกลบในถุง
กรณีที่สังเกตเห็นปุ๋ยมีลักษณะแห้งเกินไป ให้เติมน้ำเพื่อปรับสภาพความชื้นของปุ๋ยหมัก เคล็ดลับคือหากใส่น้ำซาวข้าวจะช่วยให้เกิดการย่อยสลายเร็วขึ้น
・ สลับการฝังกลบเศษอาหารโดยใช้พื้นที่เท่า ๆ กันสลับกันบริเวณด้านซ้ายและขวาของถุง
・ เชื้อราสีขาวบริเวณหมักเป็นตัวบ่งชี้ว่าการสลายตัวกำลังดำเนินอยู่ ไม่ต้องกำจัดเชื้อราที่เห็นแต่ทำการคลุกเคล้าผสมกับวัสดุช่วยย่อยให้เข้ากัน อย่างไรก็ตามเชื้อราดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์หากมีการสูดดมเข้าระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นขอแนะนำให้สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อทำงาน
・ จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายเศษอาหารเสียเป็นสิ่งมีชีวิต ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนอากาศบริสุทธิ์ โดยการพรวนดิน และปฏิบัติต่อมันราวกับว่าคุณกำลังให้อาหารสัตว์เลี้ยงอยู่
ขั้นตอนที่ 4. ใส่เศษอาหารในครัวลงในหลุมที่เตรียมไว้
★คำแนะนำ
・ ใช้เศษอาหารในครัวเท่านั้น (เช่น อาหารที่เหลือเศษปลาและเศษผัก น้ำมันเหลือใช้จากการทอด เป็นต้น)
・ สามารถฝังกลบปริมาณเศษอาหารโดยเฉลี่ยประมาณ 500 กรัมต่อวัน
・ ทำเศษอาหารในครัวให้สะเด็ดน้ำก่อนนำไปฝังในถุงปุ๋ยหมัก การที่เศษอาหารมีน้ำมากเกินไปจะทำให้ถุงปุ๋ยหมักส่งกลิ่นเหม็น
・ การย่อยขยะเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนนำไปฝังกลบจะทำให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น
・ รายการประเภทเศษอาหารและความสามารถในการย่อยดูได้จากที่นี่
ขั้นตอนที่ 5. ใส่วัสดุช่วยย่อย ② ในปริมาณที่เหมาะสมแล้วผสมอย่างเบามือ
★คำแนะนำ
・ ปรับปริมาณวัสดุช่วยย่อย ② ตามปริมาณของเศษอาหารที่ใช้ฝังกลบ
ปริมาณของเศษอาหาร 500 กรัม จะใช้วัสดุช่วยย่อย ② ประมาณครึ่งหนึ่งช้อนปลูกขนาดมาตรฐาน
ปริมาณของเศษอาหาร 200 กรัม จะใช้วัสดุช่วยย่อย ② ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ
・ หากใช้วัสดุช่วยย่อย ② ที่มากับชุดอุปกรณ์หมด ไม่จำเป็นต้องใส่เพิ่มอีก
ขั้นตอนที่ 6. กลบเศษอาหารด้วยวัสดุช่วยย่อยให้เรียบร้อยเพื่อไม่ให้มองเห็นเศษขยะในครัว
★คำแนะนำ
・ ปิดถุงใบใหญ่ด้านนอกให้สนิทหลังจากฝังกลบเศษอาหารเรียบร้อย หากมีช่องว่างอาจทำให้เกิดกลิ่นและแมลงรบกวนได้
ฝังกลบเศษอาหารตามขั้นตอนที่ 3 ถึง ขั้นตอนที่ 6
ขั้นตอน 7 การย่อยสลายช่วงสุดท้ายก่อนนำไปใช้ปลูกพืช
★คำแนะนำ
・ ตรวจสอบปริมาณความชื้นของวัสดุช่วยย่อยและเศษอาหารภายในถุงประมาณทุกๆ 3 วัน และและปรับความชื้นตามความเหมาะสม
・ หากพบว่ายังมีเศษอาหารที่ยังไม่ย่อยสลาย ให้ปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่งเศษอาหารทั้งหมดจะถูกย่อยสลายเป็นดินอย่างสมบูรณ์
- ส่วนที่ย่อยสลายเป็นดินแล้วสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักเพื่อปลูกพืชได้ทันที
ขั้นตอน 8. ปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์และปุ๋ยหมักต่อไป
★คำแนะนำ
・ เพลิดเพลินกับการปลูกผักสดไว้ทานเองที่บ้าน
・ กระเป๋าด้านในกลายเป็นกระถางปลูกผัก
・ กระเป๋าด้านนอกสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ได้อีก
・ หากคุณต้องการเพลิดเพลินกับการทำปุ๋ยหมักด้วยถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์ สามารถสั่งซื้อ ชุดรีพีตเตอร์ (ประกอบด้วย ถุงด้านใน และวัสดุช่วยย่อย ① และ ②) ที่นี่
ค. คำถามที่พบบ่อย
Q1: อายุการใช้งานผลิตภัณฑ์นานแค่ไหน?
ตอบ: ขึ้นอยู่กับปริมาณเศษอาหาร
ข้อแนะนำคือหากเติมเศษอาหาร 500 กรัมต่อวันจะสามารถใช้ผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ได้เป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน หากเติมเศษอาหาร 300 กรัมต่อวันจะสามารถใช้ผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ได้
Q2: ระยะเวลาที่ใช้ในการย่อยสลายของเศษอาหารมากน้อยแค่ไหน?
ตอบ: ขึ้นอยู่กับจำนวนเศษอาหารและประเภทของเศษอาหาร
หากปริมาณเศษอาหารที่ฝังกลบมีน้อยและสามารถย่อยสลายได้ง่ายจุลินทรีย์จะทำงานได้ดีและอาจย่อยเศษอาหารได้หมดในวันถัดไป หากใส่เศษอาหารในปริมาณที่มากเกินไปหรืออาหารที่ยากต่อการย่อยสลายของจุลินทรีย์ การย่อยสลายอาจใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ อย่างไรก็ตามหากไม่มีปัญหาจากกลิ่นไม่พึงประสงค์หรือแมลง ก็ไม่ควรกังวลเกี่ยวกับความเร็วในการย่อยสลาย
รายการเศษอาหารที่ง่ายต่อย่อยสลายและเศษอาหารที่ยากต่อการย่อยสลายดูได้จากที่นี่จาก.
Q3: การย่อยสลายช่วงสุดท้ายก่อนนำไปใช้ปลูกพืชมีลักษณะอย่างไร?
ตอบ: หากมีการเติมเศษอาหารอยู่บ่อยๆ ระยะเวลาในการย่อยสลายได้หมดและพร้อมที่จะนำวัสดุที่เปลี่ยนสภาพเป็นปุ๋ยหมักก็จะช้าลงไปด้วย
หากสังเกตเห็นว่าการย่อยสลายเกิดขึ้นช้ากว่าสองเดือนแรกในการเริ่มกระบวนการฝังกลบ ควรหยุดการฝังกลบและรอการย่อยสลาย การย่อยสลายที่ช้าลงอย่างเห็นได้ชัดจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงกระบวนการย่อยสลายขั้นสุดท้ายเพื่อเตรียมการสำหรับนำปุ๋ยหมักไปใช้ และการย่อยสลายจะเกิดขึ้นได้ยากเมื่อถุงด้านในเต็ม
Q4: ถ้าก้นกระเป๋าชื้น ควรทำอย่างไรดี?
ตอบ: ระหว่างกระบวนการย่อยสลายจะมีความร้อนบางส่วนเกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้บริเวณก้นถุงมีความชื้นเกิดขึ้น
หากมีเศษอาหารเป็นจำนวนมาก ขอแนะนำให้ใช้วางถุงไว้บนตะแกรงที่อยู่เหนือพื้นเล็กน้อย นอกจากนี้บริเวณก้นถุงอาจเปียกชื้นเนื่องจากมีปริมาณน้ำมากเกินไปจากเศษอาหาร ในกรณีนี้โปรดสะเด็ดน้ำออกจากเศษอาหารก่อนนำไปฝังกลบ
Q5: กรณีกลิ่นไม่พึงประสงค์ควรทำอย่างไร?
ตอบ: เศษอาหารที่มาจากสัตว์อาจให้กลิ่นแอมโมเนียในกระบวนการย่อยสลาย
ในระหว่างกระบวนการย่อยสลายอาจมีกลิ่นเกิดขึ้นได้แต่กลิ่นดังกล่าวจะค่อยๆหายไปเมื่อกระบวนการย่อยสลายเสร็จสิ้น หากมีความกังวลเรื่องกลิ่นโปรดปรับปริมาณเศษอาหารที่มาจากสัตว์และเมื่อใส่เศษอาหารแล้ว ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีดินหรือวัสดุช่วยย่อยกลบเศษอาหารอยู่
ในหลายกรณีสามารถแก้ไขได้โดยการพรวนดินเพื่อเพิ่มปริมาณอากาศในดินเพื่อช่วยการย่อยสลาย หากมีน้ำมากเกินไปการย่อยสลายจะไม่เกิดขึ้นและอาจมีกลิ่นเหม็นเน่า ดังนั้นจึงควรสะเด็ดน้ำออกจากเศษอาหารก่อนนำไปฝังกลบ
วัสดุช่วยย่อย ② มีคุณสมบัติในการช่วยเร่งการย่อยสลาย ดังนั้นการเพิ่มปริมาณวัสดุช่วยย่อย ② จะสามารถช่วยระงับกลิ่นและช่วยการย่อยสลายได้ดีขึ้น
นอกจากนี้กากกาแฟยังมีฤทธิ์ระงับกลิ่นตามธรรมชาติ สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟสามารถใช้กากกาแฟในการป้องกันกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์จากการย่อยสลายได้โดยเติมกากกาแฟในถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์
หากคุณยังคงกังวลเกี่ยวกับกลิ่นคุณสามารถกำจัดกลิ่นได้โดยการเติม EM ลงไปในถุงปุ๋ยหมักอินทรีย์
สามารถหาซื้อ EMได้จาก ที่นี่
Q6: วิธีการรับมือสำหรับการระบาดของแมลง?
ตอบ: บางกรณีอาจมีแมลงวันและมดบริเวณถุงปุ๋ยหมักเนื่องจากกลิ่นจากเศษอาการอาจดึงดูดแมลงต่างๆ หากได้กลิ่นจากถุงปุ๋ยหมัก ควรปิดซิปของถุงให้สนิทเพื่อป้องกันแมลงบุกรุก ทั้งนี้สามารถป้องกันแมลงได้โดยใช้มาตรการในการป้องกันกลิ่นไม่พึงประสงค์
แต่หากยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับแมลง สามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์ได้จาก ที่นี่
Q7: ไม่ใส่เศษผัก ผลไม้ที่ใช้ยาฆ่าแมลงจะได้ผลดีกว่าไหม?
ตอบ: เศษผักผลไม้ที่ใช้ยาฆ่าแมลง หรือไม่ใช้ยาฆ่าแมลงไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อปุ๋ยหมักที่ได้ หากยังกังวลอยู่ให้ล้างเศษผัก และผลไม้ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อกำจัดยาฆ่าแมลงออกให้มากที่สุด ก่อนนำไปฝังกลบ
D. ความมุ่งมั่นของกองปุ๋ยหมัก
จุดมุ่งมั่น 1
①ใช้ผ้าสักหลาดรีไซเคิล 100%
(2) ขนาดที่สามารถใช้งานได้ง่ายแม้บนระเบียงขนาดเล็ก
③รูปลักษณ์ที่น่ารัก
④แท็กบันทึกจาก hagire (มีหลายสี)
จุดมุ่งมั่น 2
(1) ลุงรีผู้เลี้ยงไส้เดือนใช้สูตรวัสดุพื้นฐานเฉพาะเพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นอำนวยความสะดวกในการปรับความชื้นและส่งเสริมการสลายตัว เพื่อดูรายละเอียดที่นี่。
จุดมุ่งมั่น 3
(1) เมล็ดถูกตั้งไว้เพื่อให้คุณรู้สึกได้ถึงการหมุนเวียนของพืช
จุดมุ่งมั่น 4